WORK

New Yothi (4.0)+

Medical District Urban Design

ย่านโยธี Yothi verasustudio work, Yothi, Medical District Urban Design, 2018, แผงควมคุมนโยบายการสร้างเมือง

Medical District Urban Design

NEW YOTHI (4.0)+ เป็นการตระเตรียมแผนงานการออกแบบเมืองเชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต (people) ตอบรับระบบเศรษฐกิจ (Profit) เพื่อความยั่งยืน (Planet) ด้วยการสืบสานวิถีชุมชน (Culture) ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตในอนาคตทั้งที่ทำนายได้และทำนายไม่ได้

Location :

Yothi District, Thailand

Year :

2018

Team :

Tachapol Tanaboonchai

Sicha Chittavanich

Veerasu Sae-Tae

Status :

Yothi Innovation District Design Contest

-Second Prize-

Organiser :

National Innovation Agency (NIA) Ministry of Science, Thailand

หัวใจสำคัญในการออกแบบพัฒนาเมืองคือความเข้าใจในศักยภาพของพื้นที่ ความต้องการของผู้มาใช้งาน และปัจจัยทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ การวางผังจากบนสู่ล่าง (Top-Down Planning) เป็นการวางแผนที่ล้าสมัยเพราะไม่สามารถตอบสนองคนในยุคสมัยนี้ การผสานแนวคิดของมุมมองจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom-Up) และบนสู่ล่างกลายเป็นนัยสำคัญหลักในการการออกแบบผังเมืองในสมัยปัจจุบัน โดยสามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการร่วมมือกัน (Collaboration) ของภาครัฐบาล ภาคเอกชน และคนในพื้นที่

verasustudio work, Yothi, Medical District Urban Design, 2018, Planet People ProfitNEW YOTHI (4.0)+ เป็นการตระเตรียมแผนงานการออกแบบเมืองเชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต (people) ตอบรับระบบเศรษฐกิจ (Profit) เพื่อความยั่งยืน (Planet) ด้วยการสืบสานวิถีชุมชน (Culture) ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตในอนาคตทั้งที่ทำนายได้และทำนายไม่ได้

Our presentation at DISTRICT SUMMIT 2018 on 13 Feb 2018 Siam Square Bangkok, Thailand | ณ เคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์ วัน ชั้น 7

บทบาทของแนวความคิดของมุมมองจากระดับล่างขึ้นบนโดยการใส่ใจผู้คนในพื้นที่ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) โดยการให้ความสนใจกับสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม (Cultural Assets) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ ในการพัฒนาระบบนิเวศน์ย่านนวัตกรรม โดยมีคุณสมบัติในการสืบสานวิถีชีวิตของชุมชน ส่งเสริมเอกลัษณ์ และรวมผู้คนในชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน

Tachapol Tanaboonchai presented New Yothi 4.0+ to the public and competition juries on 13 Feb 2018.

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย verasustudio work, Yothi, Medical District Urban Design, 2018, Victory Monument Sky Bridge,อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ,สะพาน
ย่านโยธี verasustudio work, Yothi, Medical District Urban Design, 2018, ถนนคนเดินย่านโยธี
ย่านโยธี verasustudio work, Yothi, Medical District Urban Design, 2018, ออกแบบลานกีฬาใต้สะพาน

NEW YOTHI (4.0)+ 

เป็นแผนงานที่เพื่อตอบสนองปัญหาในชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่ย่านนวัตกรรมอย่างยั่งยืนเพื่อคนในชุมชน โดยแผนงานมีการจัดแบ่งออกเป็น ขั้นตอน ซึ่งแต่ละระยะแผนงานมีการคำนึงถึงผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงพื้นที่และชุมชนเพื่อการพัฒนาในขั้นต่อไปดัง

ขั้นตอนที่ 0: การเตรียมการ (Preparation)
● – หน่วยงานรัฐบาลสละพื้นที่บางส่วนเพื่อใช้ในการพัฒนาเป็นพื่นที่สาธารณะ
ขั้นตอนที่ 1: ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Rearrangement)
● – พื้นที่จอดรถถูกเตรียมรอบๆโครงการและเส้นทางเดินรถโดยสารระดับเมือง ด้วยการปรับตำแหน่งสถานี

ขั้นตอนที่ 2: พื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชนและอาคารเพื่อกลุ่มบริษัทใหม่ (Green space and Start-up)
● – สร้างพื้นที่สีเขียวสาธารณะและสวนเพื่อการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ พัฒนาพื้นที่รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (Start-Up) โดยใช้อาคารเดิมของหน่วยงานราชการโดยมีการปรับปรุง (Transformation)

ขั้นตอนที่ 3: ถนนคนเดินโยธี (Walking-Street Yothi)
● – ถนนโยธีแปรสภาพเป็นถนนสำหรับการเดิน (Car-free Area) และลดการใช้งานของกำแพงทึบเพิ่มพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสำหรับ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านขายของชำ

ขั้นตอนที่ 4: เคหะสถานและพื้นที่ริมคลอง (Housing and Canalside Development)
● – การปรับปรุงพื้นที่ข้างเคียงศูนย์การแพทย์สู่โรงแรม (Boutique Hotel)
● การปรับปรุงชุมชนริมน้ำและใต้ทางด่วนรองรับการเจริญเติบโตของชุมชน

ขั้นตอนที่ 5: พัฒนาระบบนิเวศน์และคุณภาพชีวิตชุมชน (Leisure and Living Quality)
● – เพิ่มพื้นที่ส่วนกลางของย่านสำหรับการพักผ่อน ออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมชุมชน
● เพิ่มเส้นทางจักรยานรอบพื้นที่ชั้นใน

ขั้นตอนที่ 6: เคหะสถานส่วนขยาย (Housing Expansion)
● – การพัฒนาระบบนิเวศน์ส่งผลให้ความต้องการใช้งานเพื่อการลงทุนและอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น เมื่อจำนวนประชากรมากขึ้น ความต้องการพื้นที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น พื้นที่เคหะสถานจึงถูกขยายรองรับการเจริญเติบโต

ขั้นตอนที่ 7: สินทรัพย์ทางวัฒนธรรม (Cultural and Community Value)
● – สืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural Value) เตรียมพื้นที่สร้างคุณค่าทางสังคมเช่น ห้องสมุด ตลาด และศูนย์ชุมชน เพื่อการพัฒนาสู่ย่านนวัตกรรมด้วยความยั่งยืน

ย่านโยธี Urban Design, 2018, Architecture and Urban Design Framework

CREDITS

nam aliquam sem et tortor consequat id porta nibh venenatis cras sed felis eget velit aliquet sagittis