Our obsession in play brings us to invent tools for playing, for instance, organic material like banana leaf and stem, have been used to build an imaginary horse as one can see in Thai traditional play called Mah-kan-Kiwy. Later with the movement of Modernism, we tend to break down things to its core functions and was perhaps the same moment when we were trying to deconstruct the definition of play into a series of actions and body movements such as climbing, jumping, running, crawling, sitting, standing, lying, walking etc.
As a result, a prototype of playground equipment has been created combining different modules of functions including slider, rocking horse, climbing wall and mesh, tunnel etc. It is the most iconic play element associated with many people childhood memories and still visible today in many of Thai public playgrounds and parks. This type of modern play units surely benefits a child’s physical and emotional development but how much it could affect ones’ creativity? As this equipment tends to have a straightforward way of interaction within itself and complete ignore the context where it situated in.
ลานละเล่น
‘การเล่น’ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์มาแต่โบร่ำโบราณ การเล่นนั้นไม่มีความหมายและคำจำกัดความที่ตายตัว มันคือกระทำใดๆก็แล้วแต่ที่ก่อให้เกิด ความสุข ความบันเทิงใจ ความสนุกสนาน ความหลงใหลในการเล่นของมนุษย์ทำให้เราคิดค้น และประดิษฐ์อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ประกอบการเล่นมากมาย อาทิเช่น ใบและก้านกล้วยถูกนำมาสร้างม้าในจิตนาการดังที่เราเห็นในการละเล่นไทยอย่างไม้ก้านกล้วย
ต่อมาในยุคโมเดิร์นนิสม์ซึ่งเป็นยุคที่นักออกแบบมักจะแยกย่อกและลดทอนสิ่งตกแต่งที่ไม่จำเป็นออกไปให้เหลือไว้เพียงแกนหลักที่จำเป็นเพียงเท่านั้น อาจเป็นช่วงเวลาเดียวกันนี้ที่ การจำกัดความหมายทางวิทยาศสตร์ของการเล่นถูกนำไปยึดโยงกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์และสุขลักษณะ เช่นการปีนต่าย การกระโดด การวิ่ง การคลาน การนั่ง การยืน แนวคิดนี้นำไปสู่เครื่องเล่นตามสนามเด็กเล่นและในสวนสาธารณะที่เรามักคุ้นตาและเป็นสิ่งที่เป็นภาพจำในวัยเยาว์ของใครหลายๆคน เครื่องเล่นที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่าง เช่น สไลเดอร์ ราวโยน หน้าผาจำลอง เพดานตาข่าย ห่วงลอด และ อุโมงค์เป็นต้น อุปกรณ์สนามเด็กเล็กมาตราฐานลักษณะนี้แน่นอนว่ามีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางร่างกายและอารมณ์ของเด็ก แต่คำถามคือเครื่องเล่นในรูปแบบนี้มีส่วนในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆมากน้อยแค่ไหน ด้วยความที่เครื่องเหล่านี้มีลักษณะการเล่นที่ตายตัว และไม่ยึดโยงกับสภาพแวดล้อมและบริบทรอบๆตัวมัน
จะเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะออกแบบลักษณะของเครื่องเล่นที่ผสมผสานระหว่างงานสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์ และ เครื่องเล่น เข้าด้วยกัน “ลานละเล่น” จึงเป็นแนวคิดของเพลย์สเตชั่นที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม และให้อิสระในการตีความและการใช้งานแก่ผู้ใช่
Can we create play areas that blend in with their surroundings, combining architecture and playgrounds while still providing both aesthetic appeal and essential play functions?
That’s where ‘Ground play’ comes in – a new play landscape designed with this idea in mind.
WORK IN PROCESS
CREDITS
Images Bangkok Design Week